กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ได้เริ่มตั้งเป็นกรมอิสระขึ้นครั้งแรก เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๖ ตรงกับวันแรม ๒ ค่ำ เดือน ๔ ปีเถาะ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นหน่วยขึ้นตรงกรมทหารเรือ (คำสั่งกรมทหารเรือ ที่ ๑/๑๕๕๒ ลงวันที่ ๒ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๔๖ ร.ศ.๑๒๒) (กองทัพเรือ) โดยมีที่ทำการอยู่ บริเวณพระราชวังเดิม (พระราชวังสมเด็จพระตากสินมหาราช) จังหวัดธนบุรี มีหน้าที่บังคับบัญชาโรงเรียนนายเรือ ซึ่งขณะนั้นมีแผนกที่ขึ้นตรงอยู่ ๒ แผนก คือ กองโรงเรียนนายเรือ และ กองแผนที่ ทั้งนี้มีนายเรือเอกผู้ช่วยหม่อมไพชยนต์เทพ (หม่อมราชวงศ์ พิณ สนิทวงศ์) เป็นเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือคนแรก มีสถานที่ทำงานตั้งอยู่ ณ พระตำหนักเก๋งพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ พระตำหนักเก๋งพระปิ่น
ต่อมา เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๖๔ ทางราชการให้ยุบจากกรมอิสระเป็นกรมย่อย ขึ้นอยู่ในบังคับบัญชาของกรมเสนาธิการทหารเรือ และได้ยุบเลิกไปเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พ.ศ.๒๔๖๙ โดยเหลือไว้เฉพาะกองโรงเรียนนายเรือ ซึ่งให้ขึ้นตรงต่อกรมเสนาธิการทหารเรือแทน สาเหตุที่ถูกยุบไปเนื่องจากรัฐบาลในสมัยนั้นประสบปัญหาเรื่องงบประมาณแผ่นดินจึงจำเป็นต้องลดรายจ่ายประเภทเงินเดือน และค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลงมาให้อยู่ในระดับดุลยภาพกระทรวงทหารเรือ (ชื่อซึ่งเรียกในสมัยนั้น)ได้ถูกตัดงบประมาณลงไปส่วนหนึ่งและเพื่อให้ราชการดำเนินต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพจึงต้องยุบส่วนราชการบางส่วนออกไป
ต่อมา เมื่อปี พ.ศ.๒๔๘๖ ทางราชการได้ตระหนักถึงงานด้านการศึกษาว่ามีความสำคัญต่อกองทัพเรือเป็นอย่างยิ่ง เพราะปรากฏตามข้อเท็จจริงว่าความเจริญก้าวหน้าของหน่วยต่าง ๆ ในกองทัพเรือจะต้องอาศัยวิชาการและบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถเป็นมาตรฐานจึงจะดำเนินไปได้ด้วยดี นอกจากนั้น การศึกษาจะมีคุณภาพและเกิดประสิทธิผลได้ก็จำเป็นต้องมีหน่วยงานรองรับเพื่อทำหน้าที่ควบคุมดูแลรับผิดชอบอย่างใกล้ชิด จึงจะทำให้งานบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ได้ ด้วยเหตุผลดังกล่าวจึงได้มีการตั้งกรมยุทธศึกษาทหารเรือ ขึ้นอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ ๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๘๖ หลังจากถูกยุบเลิกไปเป็นเวลานานถึง ๑๗ ปี แต่กรมที่ตั้งขึ้นใหม่นี้ เป็นเพียงหน่วยขึ้นตรงอยู่ในบังคับบัญชาของกรมเสนาธิการทหารเรือเช่นเดิม จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๘ ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการกองทัพเรือในกระทรวง กลาโหม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๙๘ ตั้งให้กรมยุทธศึกษาทหารเรืออยู่ในส่วนการศึกษาและเป็นหน่วยขึ้นตรงกองทัพเรือ
กรมยุทธศึกษาทหารเรือที่ตั้งขึ้นในครั้งหลังนี้มีที่ทำการอยู่ภายในบริเวณพระราชวังเดิมเหมือน ครั้งแรก แต่สถานที่ทำการได้ย้ายจากพระตำหนักเก๋งพระปิ่นไปอยู่ ณ ตึกที่ประทับของกรมพระราชวังบวร วิไชยชาญ (พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ตึกบวรวิไชยชาญ โดยกองบังคับการ กรมยุทธศึกษาทหารเรือตั้งอยู่ชั้นบน ส่วนชั้นล่างเป็นที่ตั้งโรงเรียนนายเรือ มีหน่วย ขึ้นตรงในบังคับบัญชา รวม ๗ หน่วย คือ แผนกที่ ๑-๓ แผนกอนุศาสนาจารย์ กองโรงเรียนนายเรือ กองโรงเรียนชุมพลทหารเรือ และโรงเรียนปืนใหญ่
ตึกบวรวิไชยชาญตั้งอยู่ภายในกำแพงพระราชวังเดิมชั้นในทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของท้องพระโรงต่อมาตึกหลังนี้ได้ชำรุดทรุดโทรมลง อีกทั้งยังคับแคบไม่เพียงพอแก่การปฏิบัติราชการ กองทัพเรือจึงอนุมัติงบประมาณเพื่อสร้างตึกหลังใหม่ขึ้นบนเนื้อที่เดิมโดยรื้อตึกบวรวิไชยชาญ แต่ได้ขยายให้มีความ กว้าง-ยาวกว่าเดิม มีลักษณะเป็นอาคาร ๒ ชั้น หลังคาทรงไทย มุงด้วยกระเบื้องวิบูลย์ ได้ประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เมื่อวันที่ ๒๘ กันยายน พ.ศ.๒๔๙๖ และสร้างเสร็จบริบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๔๙๙
ต่อมาเมื่อวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๐๐ ได้ย้ายที่ทำการกรมยุทธศึกษาทหารเรือจากอาคารที่สร้างขึ้นใหม่ไปอยู่ ณ อาคารโรงเรียนเตรียมนายเรือ (อาคารส่วนบัญชาการ อาคาร ๑ ในปัจจุบัน) ส่วนอาคารกรมยุทธศึกษาทหารเรือหลังเดิมให้ใช้เป็นที่ทำการส่วนบัญชาการกองทัพเรือแทน
หลังจากกรมยุทธศึกษาทหารเรือย้ายที่ทำการไปอยู่ที่อาคารโรงเรียนเตรียมนายเรือประมาณ ๒ ปี ก็ได้ย้ายกลับไปอยู่ที่อาคารกรมยุทธศึกษาทหารเรือที่สร้างขึ้นใหม่ในสมัยนั้นอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ ๒๓ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๐๒ และอยู่ต่อมาจนถึง วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๓๖ กองทัพเรือได้อนุมัติให้ทำการ ปรับปรุงสถานที่ทำงานของผู้บังคับบัญชา ณ ตึกบัญชาการกองทัพเรือเสียใหม่ กรมที่ทำการจึงย้ายไปอยู่ที่อาคารที่ทำการเดิมของฐานทัพเรือกรุงเทพ (อยู่ในเขตพื้นที่กรมสารวัตรทหารเรือในปัจจุบัน อาคารดังกล่าวได้ถูกรื้อถอนไปแล้ว เพื่อใช้สร้างหอประชุม กองทัพเรือ สำหรับรองรับการประชุม APEC 2003)
ในช่วงนี้กองทัพเรือได้สร้างอาคารที่ทำการกรมยุทธศึกษาทหารเรือขึ้นใหม่บริเวณใกล้เคียงกับสถาบันวิชาการทหารเรือชั้นสูง อาคารกรมยุทธศึกษาทหารเรือหลังใหม่นี้ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ๓ ชั้น ขนาดกว้าง ๔๐ x ๖๐ เมตร ตั้งอยู่บนเนื้อที่ ๕๖ ไร่ ๒ งาน ๙ ตารางวา ได้รับงบประมาณจาก กองทัพเรือให้ดำเนินการก่อสร้างตั้งแต่ปีงบประมาณ ๒๕๓๗ ในวงเงิน ๓๙,๕๑๕,๐๐๐.-บาท (สามสิบเก้าล้านห้าแสนหนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างตามสัญญา ตั้งแต่วันที่ ๒๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๓๗ และมีกำหนดแล้วเสร็จภายในวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ.๒๕๓๘
แต่เนื่องจากปลายปี พ.ศ.๒๕๓๘ ได้เกิด สภาวะน้ำท่วมขังอย่างหนัก บริษัทผู้รับเหมาไม่สามารถดำเนินการให้แล้วเสร็จได้ตามสัญญา ทำให้การ ก่อสร้างต้องล่าช้าออกไปอีกระยะหนึ่ง ในที่สุดการก่อสร้างได้แล้วเสร็จและส่งมอบอาคาร เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ.๒๕๓๙ และกรมยุทธศึกษาทหารเรือได้ย้ายเข้าที่ทำการแห่งใหม่ซึ่งตั้งอยู่ ณ เลขที่ ๑๐๖ ถนนไทยาวาส หมู่ที่ ๓ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม เมื่อวันอังคารที่ ๑๕ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๓๙ ตรงกับวันขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๑๒ ปีกุน
ภารกิจ : กรมยุทธศึกษาทหารเรือ มีหน้าที่ อำนวยการ ประสานงาน แนะนำ กำกับการ และดำเนินการ เกี่ยวกับ การฝึกหัดศึกษาและตำรา การอนุศาสนาจารย์ งานประวัติศาสตร์และพิพิธภัณฑ์ทหาร การศึกษา วิเคราะห์ จัดทำ และประเมินยุทธศาสตร์และกำหนดหลักนิยมของกองทัพเรือ ตลอดจน การฝึก การศึกษาวิชาการทหารเรือ และวิทยาการที่เกี่ยวข้องของสถานศึกษาในบังคับบัญชา และสถานศึกษาในกำกับ มีเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ
ตั้งแต่ก่อตั้งกรมยุทธศึกษาทหารเรือเมื่อปี พ.ศ.2446 ถึงปัจจุบัน
มีผู้บังคับบัญชาซึ่งดำรงตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือตามรายพระนามและรายนามตามลำดับ ดังนี้
ที่ | ภาพถ่าย | รายนาม | ตั้งแต่ | ถึง |
1. | ![]() |
นาวาโท หม่อมไพชยนต์เทพ |
3 มีนาคม 2446 | 1 มีนาคม 2448 |
2. | ![]() |
พลเรือตรี พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอพระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) |
1 มีนาคม 2448 | 14 เมษายน 2454 |
3. | ![]() |
พลเรือตรี พระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้าวุฒิไชยเฉลิมลาภ (พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร) |
14 เมษายน 2454 | 26 กันยายน 2461 |
4. | ![]() |
พลเรือโท พระเจ้าพี่ยาเธอกรมหมื่นชุมพรเขตอุดมศักดิ์ (พลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอาภากรเกียรติวงศ์ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์) |
26 กันยายน 2461 | 1 ธันวาคม 2464 |
5. | ![]() |
นาวาโท พระอาจกำแหง (ห้อง หังสนาวิน – พลเรือตรี พระยากำแหงณรงค์ฤทธิ์) |
1 ธันวาคม 2464 | 1 พฤษภาคม 2468 |
6. |
|
นาวาโท พระนิยมยุทธนาวี (รั้งตำแหน่งเจ้ากรมยุทธศึกษาทหารเรือ) (ยม สีตบุตร - นาวาเอก พระยานิยมยุทธนาวี) |
1 พฤษภาคม 2468 | 1 เมษายน2469 |
ยุบ กรมยุทธศึกษาทหารเรือ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2469 ถึง 8 กันยายน 2486 | ||||
7. | ![]() |
นาวาเอก หลวงชาญชยศึก (ชื่น จุลละวัจนะ – พลเรือโท หลวงชาญชยศึก) |
17 กรกฎาคม 2488 | 1 มกราคม 2489 |
8. | ![]() |
นาวาเอก ประวิศ ศรีพิพัฒน์ (พลเรือตรี ประวิศ ศรีพิพัฒน์) |
1 มกราคม 2489 | 2 กรกฎาคม2494 |
9. | ![]() |
นาวาเอก เอกไชย อิศรางกูร ณ อยุธยา (พลเรือตรี เอกไชย อิศรางกูร ณ อยุธยา) |
2 กรกฎาคม 2494 | 21 เมษายน 2498 |
10. | ![]() |
พลเรือตรี หลวงมงคลยุทธนาวี (มงคล ศิริเวทิน – พลเรือโท หลวงมงคลยุทธนาวี) |
21 เมษายน 2498 | 8 ตุลาคม 2500 |
11. | ![]() |
พลเรือตรี ดำริห์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา (พลเรือเอก ดำริห์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา) |
8 ตุลาคม 2500 | 4 ตุลาคม 2505 |
12. | ![]() |
พลเรือตรี เปลี่ยน นิ่มเนื้อ (พลเรือโท เปลี่ยน นิ่มเนื้อ) |
4 ตุลาคม 2505 | 30 กันยายน 2509 |
13. | ![]() |
พลเรือโท เฉนียน รุจิพันธุ์ | 1 ตุลาคม 2509 | 30 กันยายน 2515 |
14. | ![]() |
พลเรือโท หม่อมราชวงศ์ พันธุม ทวีวงศ์ (พลเรือเอก หม่อมราชวงศ์ พันธุม ทวีวงศ์) |
1 ตุลาคม 2515 | 30 กันยายน 2516 |
15. | ![]() |
พลเรือโท สถาปน์ เกยานนท์ (พลเรือเอก สถาปน์ เกยานนท์) |
1 ตุลาคม 2516 | 18 พฤศจิยายน 2516 |
16. | ![]() |
พลเรือโท พอน พันธุ์ทรัพย์ | 19 พฤศจิกายน 2516 | 30 กันยายน 2519 |
17. | ![]() |
พลเรือโท เฉลิม จาตุรพงษ์ | 1 ตุลาคม 2519 | 30 กันยายน 2522 |
18. | ![]() |
พลเรือโท ยศ ฟักผลงาม | 1 ตุลาคม 2522 | 30 กันยายน 2523 |
19. | ![]() |
พลเรือโท เลิศ ญาณนนท์ | 1 ตุลาคม 2523 | 30 กันยายน 2524 |
20. | ![]() |
พลเรือโท คำนวณ ปุณศรี | 1 ตุลาคม 2524 | 30 กันยายน 2525 |
21. | ![]() |
พลเรือโท เจือ เกตุษเฐียร | 1 ตุลาคม 2525 | 30 กันยายน 2526 |
22. | ![]() |
พลเรือโท ปริญญา อุตตะโมท | 1 ตุลาคม 2526 | 30 กันยายน 2527 |
23. | ![]() |
พลเรือโท มาโนช ทุมมานนท์ | 1 ตุลาคม 2527 | 30 กันยายน 2529 |
24. | ![]() |
พลเรือโท สมโภช ขมะสุนทร (พลเรือเอก สมโภช ขมะสุนทร) |
1 ตุลาคม 2529 | 30 กันยายน 2530 |
25. | ![]() |
พลเรือโท สมหมาย ศุขะพันธ์ | 1 ตุลาคม 2530 | 30 กันยายน 2531 |
26. | ![]() |
พลเรือโท มนู สาคริก | 1 ตุลาคม 2531 | 30 กันยายน 2532 |
27. | ![]() |
พลเรือโท ณรงค์ โอสถานนท์ (พลเรือเอก ณรงค์ โอสถานนท์) |
1 ตุลาคม 2532 | 30 กันยายน 2533 |
28. | ![]() |
พลเรือโท วิเชียร เรืองศรี | 1 ตุลาคม 2533 | 31 มีนาคม 2534 |
29. | ![]() |
พลเรือโท ไพศาล บุณยศานติ (พลเรือเอก ไพศาล บุณยศานติ) |
1 เมษายน 2534 | 30 กันยายน 2534 |
30. | ![]() |
พลเรือโท วิรัติ สุดรัก | 1 ตุลาคม 2534 | 31 มีนาคม 2535 |
31. | ![]() |
พลเรือโท จงกล โฉมทองดี (พลเรือเอก จงกล โฉมทองดี) |
1 เมษายน 2535 | 30 กันยายน 3536 |
32. | ![]() |
พลเรือโท พรหมินทร์ โพธิผละ (พลเรือเอก พรหมินทร์ โพธิผละ) |
1 ตุลาคม 3536 | 30 กันยายน 2537 |
33. | ![]() |
พลเรือโท อธิคม ฮุนตระกูล (พลเรือเอก อธิคม ฮุนตระกูล) |
1 ตุลาคม 2537 | 30 กันยายน 2539 |
34. | ![]() |
พลเรือโท สนิท โกมลหิรัณย์ (พลเรือเอก สนิท โกมลหิรัณย์) |
1 ตุลาคม 2539 | 30 กันยายน 2540 |
35. | ![]() |
พลเรือโท ถวิล ธรรมถนอม | 1 ตุลาคม 2540 | 30 กันยายน 2541 |
36. | ![]() |
พลเรือโท ชูชาติ เกษเสถียร | 1 ตุลาคม 2541 | 30 กันยายน 2542 |
37. | ![]() |
พลเรือโท วิสิฏฐ์ เผ่าทองศุข | 1 ตุลาคม 2542 | 30 กันยายน 2543 |
38. | ![]() |
พลเรือโท ประทีปเด่น เวศกาวี (พลเรือเอก ประทีปเด่น เวศกาวี) |
1 ตุลาคม 2543 | 30 กันยายน 2545 |
39. | ![]() |
พลเรือโท สุรินทร์ เริงอารมณ์ (พลเรือเอก สุรินทร์ เริงอารมณ์) |
1 ตุลาคม 2545 | 31 มีนาคม2547 |
40. | ![]() |
พลเรือโท ทวิช ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา | 1 เมษายน 2547 | 30 กันยายน 2548 |
41. | ![]() |
พลเรือโท ยอดชาย รักสำหรวจ | 1 ตุลาคม 2548 | 30 กันยายน 2549 |
42. | ![]() |
พลเรือโท บรรยง นิศามณีพงษ์ | 1 ตุลาคม 2549 | 31 มีนาคม 2552 |
43. | ![]() |
พลเรือโท ศิริชัย ขนิษฐกุล | 1 เมษายน 2552 | 30 กันยายน 2552 |
44. | ![]() |
พลเรือโท ยุทธนา ฟักผลงาม | 1 ตุลาคม 2552 | 30 กันยายน 2553 |
45. | ![]() |
พลเรือโท สมหมาย ปราการสมุทร | 1 ตุลาคม 2553 | 30 กันยายน 2554 |
46. | ![]() |
พลเรือโท อภิชาย ฟุ้งลัดดา | 1 ตุลาคม 2554 | 30 กันยายน 2555 |
47. | ![]() |
พลเรือโท บงสุช สิงห์ณรงค์ | 1 ตุลาคม 2555 | 30 กันยายน 2556 |
48. | ![]() |
พลเรือโท สุริยะ พรสุริยะ | 1 ตุลาคม 2556 | 30 กันยายน 2557 |
49. | ![]() |
พลเรือโท วีระพันธ์ สุขก้อน | 1 ตุลาคม 2557 | 31 มีนาคม 2558 |
50. | ![]() |
พลเรือโท ชัยสินธุ์ ญาดี | 1 เมษายน 2558 | 30 กันยายน 2558 |
51. | ![]() |
พลเรือโท พิเชฐ ตานะเศรษฐ | 1 ตุลาคม 2558 | 30 กันยายน 2559 |
52. | ![]() |
พลเรือโท ช่อฉัตร กระเทศ | 1 ตุลาคม 2559 | 30 กันยายน 2561 |
53. | ![]() |
พลเรือโท บัณฑิตย์ จันทโรจวงศ์ | 1 ตุลาคม 2561 | 30 กันยายน 2562 |
54. | ![]() |
พลเรือโท เคารพ แหลมคม | 1 ตุลาคม 2562 | 31 มีนาคม 2565 |
55. | ![]() |
พลเรือโท ชลธิศ นาวานุเคราะห์ | 1 เมษายน 2565 | 30 กันยายน 2565 |
56. | ![]() |
พลเรือโท อรรถพล เพชรฉาย | 1 ตุลาคม 2565 | 31 มีนาคม 2566 |
57. | ![]() |
พลเรือโท วสันต์ สาทรกิจ | 1 เมษายน 2566 | 30 กันยายน 2567 |
58. | ![]() |
พลเรือโท อดิศักดิ์ แจงเล็ก | 1 ตุลาคม 2567 | ปัจจุบัน |
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้มีความจำเป็นต่อการให้บริการเว็บไซต์ของ ทร. เพื่อให้ท่านสามารถเข้าใช้งานในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ได้ รวมถึงช่วยจดจำข้อมูลที่ท่านเคยให้ไว้ผ่านเว็บไซต์ การปิดการใช้งานคุกกี้ประเภทนี้จะส่งผลให้ท่านไม่สามารถใช้บริการในสาระสำคัญของ ทร. ซึ่งจำเป็นต้องเรียกใช้คุกกี้ได้